Last updated: 6 ก.ค. 2567 | 37233 จำนวนผู้เข้าชม |
รู้หรือไม่ราคามะพร้าวกะทิแพงกว่ามะพร้าวธรรมดา 10 เท่า
มะพร้าวแกง VS มะพร้าวกะทิ หลายคนเรียกผิด เช่นต้องการกะทิเพื่อไปทำขนมกล้วยบวชชี เลยสั่งซื้อมะพร้าวกะทิ ปรากฏว่าได้มะพร้าวกะทิจริงๆมา แทนที่จะเป็นมะพร้าวแกงเพื่อไปคั้นน้ำกะทิ ที่สำคัญยังตกใจว่า ทำไมราคามะพร้าวกะทิเจ้านี้ถึงแพงกว่าซื้อกะทิ ที่ตลาดสด
วันนี้เรามาทำความเข้าใจ ในความแตกต่างของมะพร้าวแกงกับมะพร้าวกะทิ อธืบายให้เข้าใจง่ายๆต่อไปจะได้เรียกกันไม่ผิด
มะพร้าวแกง คือมะพร้าวทั่วไปเนื้อหนา เนื้อเเข็ง ที่เราเอาไปคั้นน้ำกะทิ มาทำแกง ทำขนมหวาน ซึ่งมะพร้าวแกงที่ขึ้นชื่อเเละมีชื่อเสียงยอมรับกันในตลาดคือ มะพ้ราวแกงทับสะแก เพราะให้ลูกใหญ่ เนื้อหนา เปลือกบาง ค่าความมันสูง
มะพร้าวกะทิ คือมะพร้าวที่เนื้อนิ่มๆหนาๆ เอาช้อนตักได้เหมือนมะพร้าวอ่อน กินสดๆ โรยน้ำตาลเล็กน้อย อร่อยอย่าบอกใครเชียว ราคาขายจะแบ่งตามขนาด S M L โดยมีราคาเริ่มต้นที่ลูกละ 120 - 250 บาท เลยทีเดียว
มะพร้าวกะทิ
พันธุ์มะพร้าวกะทิ หรือ หน่อมะพร้าวกะทิ เป็นมะพร้าวอีกชนิดหนึ่งที่ไร่พงศ์พระยาขายดีมากๆ เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดสุดๆ ด้วยความที่ใน 1 ต้น เราจะพบมะพร้าวกะทิเพียง 2 – 3 ลูกเท่านั้น บางสวนมีมะพร้าวนับ 10 ไร่ แต่ก็พบเพียงต้นเดียวที่เป็นมะพร้าวกะทิ ทำให้ราคามะพร้าวกะทิ จึงสูงกว่าราคามะพร้าวโดยทั่วไป 8 - 10 เท่า ดังนั้นเกษตรกรหลายท่านจึงให้ความสำคัญกับการปลูกมะพร้าวกะทิเป็นอย่างมาก
เนื้อมะพร้าวกะทินั้นมีรสชาดหวานมัน และหอมอร่อย นิยมทานกับขนมหวาน เช่น ทับทิมกรอบ ลอดช่องเป็นต้น บางแห่งนำไปใส่น้ำแข็งไสผสมน้ำเชื่อมโดยใช้ ช้อนคว้านเป็นชิ้นพอคำ หรือใช้ช้อนตัก กินเฉยๆก็ได้ ปัจจุบันนิยมคว้านใส่ไอศกรีม ทำบัวลอย “มะพร้าวกะทิ” ขายตามร้านอาหาร ภัตตาคารดังๆ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
เนื้อมะพร้าวกะทิ มีเส้นใยอาหารสูง ดีกับระบบขับถ่าย มีไขมันต่ำ และมีกรดลอริกสูงถึง 46%
สาเหตุของการเกิดมะพร้าวกะทิในธรรมชาติ
เมื่อเริ่มต้นการสร้างเนื้อมะพร้าว จะเหมือนกันทั้งมะพร้าวแกง และมะพร้าวกะทิ โดยการสร้างคาร์โบไฮเดรต ที่ชื่อว่า กาแลคโตแมนแนน ต่อมามะพร้าวแกงจะสร้างเอนไซม์ แอลฟ่า-ดี กาแลคโตซิเดส มาย่อย กาแลคโตแมนแนน ให้เป็นคาร์โบไฮเดรต เรียกว่า แมนแนน ที่เป็นเนื้อมะพร้าวธรรมดาหรือมะพร้าวแกง แต่มีบางผลที่ไม่สามารถผลิตเอนไซม์ แอลฟ่า-ดี กาแลคโตซิเดสได้เนื้อมะพร้าวก็ยังคงเป็นคาร์โบไฮเดรต กาแลคโตแมนแนน ที่มีลักษณะนุ่ม เหนียว คล้ายวุ้น รสชาดดี เป็นที่ชื่นชมของผู้บริโภค
มะพร้าวกะทิ แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม กลุ่มแรก มีเนื้อมะพร้าวกะทิหนาไม่มาก และนุ่ม คล้ายข้าวสุก กลุ่มที่สอง เนื้อหนาปานกลาง และ กลุ่มที่สาม เนื้อหนามาก และฟูเต็มกะลา
มะพร้าวกะทิ พบได้ทั่วไปในแหล่งที่ปลูกมะพร้าวในเขตร้อน ไม่ว่าจะที่ ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนในบ้านเราพบตามแหล่งปลูกมะพร้าวที่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี สมุทรสงคราม และนครศรีธรรมราช
ปัจจุบัน สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตรประสบความสำเร็จในการผลิตพันธุ์มะพร้าวกะทิได้แล้ว ที่สามารถให้ผลกะทิสูงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ นำโดย ดร. สมชาย วัฒนโยธิน อดีตนักวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชสวน สถานที่ทำการวิจัยอยู่ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร จังหวัดชุมพร และศูนย์วิจัยพืชสวนสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ต้องการต้นพันธุ์ ติดต่อสอบถามสั่งจองได้ที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร บริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ในวัน และเวลาราชการ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เวปไซต์เทคโนโลยีชาวบ้าน
คิดได้ทำทันที ไม่กี่ปีก็ได้ตังค์ โทรเลย 087 4898888
3 ต.ค. 2564
8 ต.ค. 2567
27 ธ.ค. 2566